วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่4

                                                                หน่วยที่4
         ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

            หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ประเภอของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (Sustem Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (Sustem Software)
ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผนแป้นอักขระแล้วแปรความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูบไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

         ซอฟต์แวร์ระบบ (Sustem Software)
(Sustem Software) หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows ,Unix ,Linux รวมทังโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic ,Fortran ,Pascal ,Cobol ,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของระบบซอฟต์แวร์ระบบ
1.) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผนแป้นอักขระ ส่งระหรัสด้วยอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดตอกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาร์ ลำโพงเป็นต้น
2.)ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัง หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลังมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.)ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารระบบ ( Directory )ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฎิบัติการ และ ตัวแปรภาษา

          ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : os)
2.ตัวแปลภาษา

1.ระบบปฎิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส ( Operating System; os) เป็น
ซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการนี้ ระบบปฎิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์
และแมคอินทอช เป็นต้น

        1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : os)
1.)ดอส (Disk Operating System;Dos) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามาแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฎิบัตืการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2.)วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากดอส โดยให้ผู้ใช้สั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ยังทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลื่อนตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฎิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปจจุบัน
3.) ยูนิกต์ (Unix) เป็นระบบปฎิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฎิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกต์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานรวมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
4.)ลีนุกต์ linux เป็นระบบปฎิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกต์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนา ช่วยกันพัฒนา

5.) แมคอินทอช (macing System : os) เป็นระบบปฎิบัตฺการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ ต่างๆ
นอกจากระบบปฎิการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฎิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฎิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันทำงานเป็นระบบ เช่น ระบบปฎิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฎิบัติการที่ใช้งานกับเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ โดยส่วยใหญ่จะใช้ในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฎิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกเป็น3ชนิดด้วยกันคือ
1.ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)ระบบปฎิบัติการประเภทนี้จะกำหนดคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่าง ไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฎิบัติการดอส เป็นต้น
2.ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)ระบบปฎิบัติการประเภทนี้สามารรถควบคุมการทำงานพร้อมกันได้หลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถใช้งานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียากัน เช่น ระบบปฎิบัติการ Windows 98ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น
3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user) ในหนาวยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนานใหญ่ทำหน้าที่ประมวณผล ทำให้ขนาดขนาดหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน